เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีปงฺกรสฺส อปเรน ความว่า ในสมัย
ต่อจากสมัยของพระทีปังกรศาสดา. บทว่า โลณฺฑญฺโญ นาม ได้แก่ เป็น
พระนามาภิไธยที่ทรงได้รับโดยพระโคตรของพระองค์. บทว่า นายโก ได้แก่
เป็นผู้นำวิเศษ. บทว่า อนนฺตเตโช ได้แก่ มีพระเดชไม่มีที่สุด ด้วยเดช
แห่งพระศีลคุณพระญาณและบุญ. เบื้องต่ำแต่อเวจี เบื้องบนถึงภวัคคพรหม
เบื้องขวาง โลกธาตุอันไม่มีที่สุด ในระหว่างนี้ แม้บุคคลผู้หนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้
สามารถที่จะยืนมองพระพักตร์ของพระองค์ไม่มีเลย ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
อนนฺตเตโช. บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารยศไม่มีที่สุด. จริงอยู่ แสน
ปีของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตลอดจนถึงสมัยเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในระหว่างนี้ จำนวนภิกษุบริษัทกำหนดไม่ได้เลย. เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า
อมิตยโส แม้ผู้มีเกียรติคุณที่กำหนดมิได้ ก็ตรัสว่า อมิตยโส. บทว่า
อปฺปเมยฺโย ได้แก่ ผู้ประมาณมิได้ โดยปริมาณหมู่แห่งคุณ เหตุนั้นจึงชื่อว่า
อปฺปเมยฺโย มีพระคุณหาประมาณมิได้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
พุทฺโธปิ พุทฺธสฺส ภเณยฺย วณฺณํ
กปฺปมฺปิ เจ อญฺญมภาสมาโน
ขีเยถ กปฺโป จิรทีฆมนฺตเร
วณฺโณ น ขีเยถ ตถาคตสฺส.

ถ้าแม้ว่าพระพุทธเจ้า พึงตรัสสรรเสริญพระคุณ
ของพระพุทธเจ้า โดยไม่ตรัสเรื่องอื่นเลย แม้ตลอด
ทั้งกัป. กัปที่มีในระหว่างกาลอันยาวนาน ก็จะพึงสิ้นไป
แต่การสรรเสริญพระคุณของพระตถาคต ยังหาสิ้นไป
ไม่.

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงเรียกว่าอัปปเมยยะ เพราะทรงมีหมู่พระคุณ
ประมาณมิได้. บทว่า ทูราสโท ได้แก่ เป็นผู้อันใครๆ เข้าเฝ้าได้ยาก
อธิบายว่า ความเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเบียดเสียดกันเข้าไปเฝ้า ชื่อว่าทุราสทะ
คือเป็นผู้อันใครๆ ไม่มีอำนาจเทียบเคียงได้.
บทว่า ธรณูปโม ได้แก่ ผู้เสมอด้วยแผ่นธรณี. บทว่า ขมเนน
ได้แก่ เพราะพระขันติ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้อุปมาด้วยแผ่นธรณ
เพราะไม่ทรงหวั่นไหวด้วยอิฐารมณ์และอนิฐารมณ์ มีลาภและไม่มีลาภ
เป็นต้น เหมือนมหาปฐพีอันหนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ไม่ไหวด้วยลมปกติ
ฉะนั้น. บทว่า สีเลน สาครูปโม ได้แก่ ทรงเสมอด้วยสาคร เพราะไม่
ทรงละเมิดขอบเขตด้วยศีลสังวร จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทร ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ล่วงขอบเขต ดังนี้.
บทว่า สมาธินา เมรูปโม ได้แก่ ทรงเป็นผู้เสมอคือเสมือน
ด้วยขุนเขาเมรุ เพราะไม่มีความหวั่นไหวอันจะเกิดแต่ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อ
สมาธิ หรือว่ามีพระสรีระมั่นคง เหมือนขุนเขาเมรุ. ในบทว่า
ญาเณน คคนูปโม นี้ ท่านทำอุปมาด้วยอากาศที่ไม่มีที่สุด เพราะพระญาณ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส อนันตะ ไม่มีที่สุด
ไว้ 4 อย่าง เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
สตฺตกาโย จ อากาโส จกฺกวาฬา จนนฺตกา
พุทฺธญาณํ อปฺปเมยฺยํ น สกฺกา เอเต วิชานิตุํ.
หมู่สัตว์ 1 อากาศ 1 จักรวาล ไม่มีที่สุด 1
พระพุทธญาณ หาประมาณมิได้ 1 ทั้ง 4 นี้อันใคร ๆ
ไม่อาจรู้ได้.

เพราะฉะนั้น จึงทรงทำอุปมาญาณอันไม่มีที่สุด ด้วยอากาศที่ไม่มีที่สุดแล.
บทว่า อินฺทฺริยพลโพชฺฌงฺคมคฺคสจฺจปฺปกาสนํ ความว่า แม้
สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน แสะอิทธิบาท ก็เป็นอันทรงถือเอาด้วย ด้วยการถือเอา
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์และมรรคสัจเหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศ
แสดง ธรรมเป็นเครื่องประกาศโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ โดยสังเขป 4
มีอินทรีย์เป็นต้น. บทว่า หิตาย แปลว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า
ธมฺมจกฺกํ ปวตฺเตนฺเต ได้แก่ เมื่อทรงให้เทศนาญาณเป็นไปอยู่.
ต่อจากนั้น ในมหามงคลสมาคม เทวดาในหมื่นจักรวาล เนรมิต
อัตภาพอันละเอียด ประชุมกันในจักรวาลนี้นี่แล. เล่ากันว่าในมหามงคลสมาคม
นั้น เทพบุตรองค์หนึ่ง ทูลถามมงคลปัญหา กะพระโกณฑัญญทศพล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสมงคลทั้งหลายโปรดเทพบุตรองค์นั้น. ในมหามงคลสมาคม
นั้น เทวดาเก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต. จำนวนพระอริยบุคคลมีพระโสดาบัน
เป็นต้นกำหนดไม่ได้เลย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมนอกไป
จากนั้น โปรดมนุษย์และเทวดาทั้งหลายในสมาคม
อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งที่ 2 ก็ได้มีแก่เทวดาเก้า-
หมื่นโกฏิ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ปรมฺปิ ได้แก่ แม้ในส่วนอื่น
อีก จากนั้น. บทว่า เทเสนฺเต ได้แก่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ธรรม. บทว่า นรมรูนํ ได้แก่ แก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย. ครั้งใด